วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประวัติผีตาโขน

ประวัติความเป็นมา การเล่นผีตาโขนจะมีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฎ คงจะมีการเล่นตั้งแต่มีบุญหลวงขึ้นเป็บุญพระเวสและบุญบั้งไฟรวมกัน คงมีมาแต่โบราณ งานบุญหลวงจัดที่วัดโพนชัย ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้ายในเดือนเจ็ดของทุกปีนิยมทำกัน 2วัน วันแรกเป็นวันรวม เป็นวันรวม ( วันโฮม ) ผีตาโขนเป็นการเล่นชนิดหนึ่งของคนอีสานผู้เล่นจะต้องสวมหน้ากากและแต่งตัวให้ดูน่ากลัว แตกต่างจากการ"เข้าผี "หรือ"เข้าทรง" ตรงที่ไม่มีการเชิญผีเข้าสิงผู้เล่นในอดีตโพ้นคนอีสานนิยมเล่นผีตาโขนในงานบุญพระเวสและบุญบั้งไฟมาโดยตลอด มีผู้กล่าวว่าการเล่นผีตาโขนก็เหมือนกับการเล่นหุ่นหัวโตของภาคกลางแต่ละท้องถิ่น อาจ เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่นผีขนผีโขนหรือม้าตาโขนเป็นต้นแต่ทุกวันนี้ผีตาโขนยังมีเหลืออยู่บางพื้นที่เท่านั้น ผีตาโขนเข้ามามีบทบาทในงานบุญพระเวส เพราะชาวบ้านจินตนาการว่า ในช่วงที่พระเจ้ากรุงสัญชัยกับนางผุสดี ไปเชิญพระเวสสันดรกับพระนางมัทรีกลับเมืองนั้นในขบวนที่แห่แหนเข้าเมืองคงจะมีคนป่าหรือผีป่าที่เคยปรนนิบัติและ เคารพรักพระเวสสันดร ร่วมขบวนตามไปส่งด้วย ตามขนบธรรมเนียมที่เคยสืบต่อกันมางานบุญหลวงจะจัดขึ้นในพื้นที่ เขตสุขาภิบาลอำเภอด่านซ้าย โดยมี ศูนย์กลางที่วัดโพนชัย ทว่าหลังเสร็จงานบุญหลวงในเขตสุขาภิบาลอำเภอด่านซ้ายแล้วในสัปดาห์ต่อมาผีตาโขนจะไป ปรากฎในงานบุญพระเวสของบ้านนาเวียงบ้านหนามแท่งและบ้านนาหอซึ่งเป็นหมู่บ่านเก่าแก่ในท้องถิ่นด้วยแต่หลังๆ นี้ เล็กกว่างานบุญหลวงมาก นักท่องเที่ยวก็นับคนได้ สำหรับงานบุญหลวง ผีตาโขนจะโผล่หน้าออกมา ตั้งแต่วันแรก และเล่นสนุกหยอกล้อผู้คนตลอดไป จนถึง วันที่ 2 ของงาน ในวันแรกเรียกว่าวันรวมหรือวันโฮมพิธีจะเริ่มต้นแต่เช้ามืดด้วนการเบิกพระอุปคุตจากลำนํ้าหมันขึ้นมา ประจำทิศทางต่าง ๆ รอบพื้นที่ที่จะประกอบพิธีกรรม เชื่อกันว่าพระอุปคุตจะช่วยคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ทำให้งานบุญเสร็จ ในขบวนแห่เบิกพระอุปคุต จะมีผีตาโขนเข้าร้วมด้วย แต่ไม่มากเท่าใดเมื่อเทียบกับตอนสาย ๆ ที่ขบวนแห่ไปยังบ้านเจ้ากวนเพื่อประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้ากวน และนางเทียม ตอนนั้นจะมีผีตาโขนออก มาเล่นเพ่นพ่านมากขึ้น เมื่อพิธีสู่ขวัญเสร็จแล้ว คนทั้งหมดอันประกอบด้วยเจ้ากวน นางเทียม คณะแสน นางแต่ง และบรรดาผ๊ตาโขน ขบวนเซิ้งการละเล่นต่าง ๆ อาทิ ทั่งบั้ง ิ ทั่งบั้ง ( คนป่ากระทุ้งพลอง ) ควายตู้ ( ไถนา ) ทอดแห จะเคลื่อนขบวนไปยังวัดโพนชัย เพื่อแห่รอบอุโบสถ ในช่วงเวลาดังกล่าว จะมีผีตาโขนมา ชุมนุมมากมาย หลังจากนั้นผีตาโขนทั้งหลายจะพากันออกไปอาละวาดตามละแวกบ้านต่าง ๆ ตามอัธยาศัย วันที่สอง ผีตาโขนจะรวมตัวกลับขบวนเซ็้ง แล้วออกไปเย้าแหย่คนแต่เช้าตรู่ หากหัวใจของงานวันนี้ ขึ้นอยู่กับการอันเชิญพระเวสสันดร และนางมัทรี เข้าเมืองในช่วงบ่าย ซึ่งเรียกว่าแห่พระ ขบวนแห่พระจัดรูปโดย มีแสนด่าน ถือพานบายศรีนำหน้า ตามด้วยขบวนแห่พระพุทธรูป ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์แทนพระเวสสันดร ขบวน พระสงฆ์สี่รูป ขบวนของคณะแสน นางเทียม นางแต่ง ผีตาโขนและนางแต่ง ผีโขนและการละเล่นต่าง ๆ ตาม ต่อมาปิดท้าย ด้วยขบวนแห่บั้งไฟ สิ่งที่น่าสังเกตคือ ตามขนบธรรมเนียมสืบทอดต่อ ๆ กันมา เจ้ากวนจะถูกเชิญ ขึ้นนั่งบนบั้งไฟ แห่นำขบวนบั้งไฟทั้งหลาย มุ่งตรงไปที่วัดโพนชัย เพื่อจะจุดบั้งไฟ ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล หลังจากเสร็จพิธีแห่พระเวสสันดร เข้าเมือง คือนำพระพุทธรูป ไปประดิษฐานไว้ในอุโบสถแล้ว ระหว่างที่แห่บั้งไฟนั้น เจ้ากวนจะโปรยทานให้แก่คนที่เฝ้าดูตลอดกาล ในวันที่สาม ทุกคนจะเข้าวัดเพื่อฟังเทศน์มหาชาติไม่มีการเล่นผีตาโขนอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น